ซูซิ 5 บาท ซื้อง่าย-ขายคล่อง

ซูชิ  5  บาท  

ซื้อง่าย-ขายคล่อง


        ยุคนี้คนหันมาบริโภคอาหารญี่ปุ่นไม่ใช่น้อย  โดยเฉพาะที่ขึ้นชื่อเลยเห็นจะเป็น  "ซูซิ"   เรียกได้ว่าตีตลาดอาหารทานเล่นได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

        ด้วยข้าวที่เหนียวเป็นเอกลักษณ์แถมยังโรยหน้าด้วยสาหร่าย  ปูอัด  กุ้ง  และอีกหลายๆ  หน้าที่ชวนให้ชิม  ผสมกับรสของวาซาบิ  จึงทำให้ธุรกิจนี้ทำเงินได้เป็นอย่างดี  ด้วยราคาเบาๆ  แค่  5  บาท  และปรับรสชาติให้เหมาะกับปากคนไทย  จึงกลายมาเป็นอาหารที่ซื้อง่ายขายคล่อง  มีขายทั่วไปในทุกพื้นที่


การลงทุน

       ใช้ข้าวสวยประมาณ  7  กิโลกรัมต่อวัน  ข้าว 8  ถ้วยตวง  จะทำชูชิได้ 250  คำ  คิดเป็นต้นทุนก็หลักสตางค์

        ส่วนต้นทุนหน้าชูชิหน้าที่คนนิยมซื้อ  เช่น  หน้ากุ้งต้นทุนตัวละ  1  บาท  ต้นทุนข้าว  30  สตางค์  คิดเป็นต้นทุนต่อคำ  1.50  บาท  แต่ขายชูชิในราคา  5  บาท  กำไร  3.50  บาท  คิดเป็น  200%  จากต้นทุน ถ้าเป็นชูชิหน้าปลาแชลมอนหน้าปลาไหล  ต้นทุนจะสูงขึ้น  อยู่ที่คำละ  4  บาท  ซึ่งส่วนใหญ่ตามร้านชูชิ  5  บาท  จะตัดหน้าปลาแชลมอนออกไปเลย  แต่ถ้าจะขายก็อาจจะเปลี่ยนราคาเป็นชูชิ  10  บาท

        ซึ่งปกติแล้วราคาโดยประมาณ ยำสาหร่ายเขียว (250-500  กรัม  ราคา  75  บาท,  ไข่กุ้งส้ม (500  กรัม)  ราคา  165  บาท, หอยลายปรุงรสกิมจิ  (500  กรัม)  ราคา  160  บาท,  วาซาบิสด  เกรด  A  (200  ซอง)  ราคา  280  บาท

         หรือจะเพิ่มความหลากหลายของหน้า  ด้วยแฮม  ปลาชาบะ  ก้ามปู  หอยเซลล์  ประมาณแล้วใช้เงินลงทุนวัตถุดิบ  รวมวันละ  3,000-4,000  บาท (ไม่รวมอุปกรณ์ตกแต่งร้าน)  และการลงทุนขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าของการผลิต

         โดยขายในราคาชิ้นละ  5  บาท


วัสดุอุปกรณ์

           1.  ข้าวญี่ปุ่น  กิโลกรัมละประมาณ  50  บาท

           2.  หน้าชูชิต่างๆ  แล้วแต่จำนวนหน้าที่เราต้องการนำมาขาย  หากนำมาสัก  9  หน้า  ลงทุนอีกประมาณ  2,000-3,000  บาท  ก็จะได้หน้ามาทำหลากหลาย  แผ่นสาหร่าย  ซอสญี่ปุ่น  วาซาบิ

           3.  ถาดอะคริลิกดำแดงและกล่องใส่ชูชิ  ราคาประมาณ  450  บาทต่อใบ  ขนาดกว้าง  10  นิ้ว  x  ยาว  14  นิ้ว  x  สูง  2  นิ้ว  x  หน้า  4  มิลลิเมตร

           4.  ถาดพลาสติกแข็ง  พร้อมฝาครอบ  (สีแดง  สีชา)  ราคา  80  บาท

           5.  หญ้าเทียม  (30x30  เซนติเมตร)   ราคา  120  บาท

           6.  โคมไฟญี่ปุ่นเกรด  A  (10  นิ้ว)  ราคา  450  บาท

           7.  ตะเกียบไม้แบบใช้แล้วทิ้ง  แพ็ค  600  คู่  ราคา  150  บาท


รายได้  รวย รวย รวย

           ราคาขายอยู่ที่ชิ้นละ 5  บาท   ถ้าขายได้วันละ 1,000  ชิ้น  ก็เท่ากับ  5,000  บาท  หักเงินลงทุนวันละ  3,000  กำไรวันละ  2,000  บาท  1  เดือนเท่ากับ  60,000  บาท  แต่หากได้ทำเลดีๆ  คนพลุกพล่าน ตามห้างหรือออกบูธตามงานต่างๆ  อาจขายได้ถึงวันละ  2,000  ชิ้นเลยทีเดียว  มีแต่รวย  รวย  รวย


แรงงาน

           หนึ่งคนก็สามารถทำได้  เพียงแต่ส่วนหนึ่งเราต้องเตรียมทำชูชิมาจากบ้านด้วยการจัดเก็บในกล่อง  หรือหากพอมีเวลาจะทำสดๆ  หน้าร้ายเลยก็ได้  แต่ถ้าหากขายดีจริงๆ  คนเยอะจนทำแทบไม่ทัน  หาพนักงานขายเพิ่มอีกสักคน จะทำให้ขายได้เร็วยิ่งขึ้น


วิธีการดำเนินธุรกิจ

           -  หุงข้าว  ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบปกติ  (เติมน้ำส้มสายชู  1  ถ้วย  น้ำตาลทราย  2  ช้อนโต๊ะ) ละลายเข้าไป เพื่อข้าวจะได้ไม่จืด  ราดลงไปให้ทั่วข้าว  หลังจากข้าวสุกแล้ว

           -  นำข้าวที่สุกใส่ภาชนะพลาสติกสีขาวอย่างดี  พักไว้รอข้าวเย็น

           -  นำข้าวที่เย็นแล้วมาม้วน  ด้วยสาหร่ายแผ่นขนาดประมาณ  8  x  5  นิ้ว  โดยใช้แผ่นไม้ม้วนข้าวที่ทำมาจากไม้  นำสาหร่ายวางลงไปบนแผ่นม้วนข้าว

           -  จากนั้นตักข้าวประมาณ  1  ทัพพีลงไปบนสาหร่าย เกลี่ยข้าวให้ทั่ว

           -  แล้วบีบมายองเนสตามแนวขวางบนแผ่นสาหร่ายด้านบน  เพื่อให้แผ่นสาหร่ายติดกันเวลาม้วน

           -  จากนั้นทำการม้วนข้าวให้เป็นก้อนกลม  แล้วใช้กรรไกรคมกริบตัดข้าวห่อสาหร่ายออกมาเป็นชิ้นๆ  (ข้าวห่อสาหร่าย  1  แท่ง  จะตัดออกมาได้  8  ชิ้น)

           -  แล้วนำหน้าชูชิมาใส่  ไม่ว่าจะเป็นไข่กุ้งส้ม  กุ้งต้ม  ปูอัด  ไข่หวาน  แมงกะพรุน  หนวดปลาหมึก  เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้า


ทำเลประกอบธุรกิจ

          ควรเลือกทำเลที่มีผู้คนพลุกพล่าน  ย่านชุมชน  ใกล้สถานที่ราชการหรือสถานศึกษา  แต่ต้องสำรวจให้ดีว่ายังไม่มีใครขายสินค้าประเภทเดียวกันอยู่ก่อนแล้ว  ไม่งั้นไปเปิดขายแข่งกันก็เหนื่อยทั้งคู่  ไม่ดีแน่


รูปแบบการขาย

           1.  ขายแบบจัดใส่กล่องพร้อมวางขาย

           จัดชูชิลงกล่องแล้วนำพลาสติกใสๆ  มาปิดให้ลูกค้ามองเห็น  ขนาดบรรจุประมาณ  6  ชิ้น  ขายในราคากล่องละ  30  บาท  เพื่อลดความวุ่นวายในระหว่างขาย  เหมาะสำหรับงานวัด  ออกบูธตามงานแสดงสินค้าต่างๆ

           แต่มีข้อเสียตรงที่ลูกค้าไม่อาจเลือกหน้าชูชิแบบที่ต้องการได้  เพราะเราคละลงกล่องไปหมดแล้ว  หรืออาจมองว่าชูชิไม่สดใหม่

           2.  แบบตั้งโต๊ะ  เตรียมสินค้าใส่ถาดพร้อมให้ลูกค้าเลือก

           นำชูชิที่ทำเสร็จแล้วใส่ถาดอย่างละถาดให้ลูกค้าเลือกรับประทานก่อนจัดลงในกล่อง  ข้อดีคือลูกค้าสามารถเลือกรับประทานตามใจชอบ  และตามจำนวนที่ต้องการได้  ข้อเสียคือ  ลูกค้าอาจมองว่าไม่สดใหม่  เพราะไม่รู้ว่าทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่

           3.  ขายแบบสดๆ  ใหม่ๆ  ทำให้เห็น

           คือทำขายให้ดูกันสดๆ  จะทำให้ลูกค้าคึกคักเพลิดเพลินกับการดู และได้ของสดใหม่ๆ  กลับไปทาน  แต่ข้อเสียอยู่ตรงผู้ขายต้องเตรียมอุปกรณ์หลายอย่าง  ทำให้ยุ่งยากและเกิดความล่าช้าในการขาย


ข้อแนะนำในการทำธุรกิจชูชิ  5  บาท

           -  การซื้ออุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำชูชิ  เริ่มต้นจะมากหน่อย  แต่ต่อๆ  ไปจะเหลือเพียงต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบเท่านั้น

            -  อุปกรณ์ที่ใช้แล้วต้องดูแลรักษาความสะอาดดีๆ  เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานที่สุด  จะได้ไม่ต้องหาซื้อใหม่บ่อยๆ

            -  เลือกคุณภาพวัดถุดิบที่ดีๆ  อย่าหวังแต่กำไร  ไม่งั้นจะเจ๊ง

            -  ควรใช้ข้าวญี่ปุ่นในการห่อ  เพราะจะกลมสวยกว่าข้าวไทย  และมีความเหนียวปั้นง่าย

            -  คิดไอเดียใหม่ๆ  ด้วยการออกแบบหน้าชูชิต่างๆ  จะช่วยเพิ่มความหลากหลาย  และดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนร้านมากขึ้น

            -  ในหน้าร้านนั้นควรมีหน้าชูชิให้เลือกรับประมาณอย่างน้อย  8-9  หน้า

            -  พ่อค้า  แม่ขายต้องอารมณ์เย็น  ต้องมีความประณีตเพื่อความสวยงาม  ที่สำคัญของที่ใช้แต่งหน้าชูชินั้น  ต้องทำให้ดูมาก  พูน  น่าทาน  ซึ่งก็ต้องตักเยอะจริงๆ  เมื่อลูกค้าซื้อไปทานแล้ว  จะได้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป

            นอกจากนี้หากไม่มีความถนัดทางด้านการทำชูชิยังมีแฟรนไซส์ชูชิให้บริการ  อาทิ

             โมกุน  ซูชิ  เจ้าของแฟรนไซส์โมกุน  ซูชิ  ที่มีสาขากว่า  100  แห่ง  สามารถลงทุนระบบแฟรนไซส์แบบไม่เสียค่าแฟรนไซส์  ไม่เสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า  และไม่บังคับซื้อสินค้า  โดยจะเปิดสอนอาชีพให้ผู้ประกอบการมือใหม่หัดขาย

             เริ่มตั้งแต่พื้นฐานกับอีก  40  หน้าชูชิ  ค่าอบรม  2,000  บาทต่อคน

               

             หลักสูตร  1  วัน  อบรม  4-5  ชั่วโมง  ทุกวันอักงคารและศุกร์  รับผู้อบรม  1-3  คนต่อรอบ  เพราะต้องการสอนแบบใกล้ชิด  ผู้เรียนได้ลงมือทำทุกคน  ไม่ได้เรียนแบบชะโงกดู  รับประกันได้ว่าเรียนจบออกไปทำได้ทุกคน

             คนที่ไม่ได้มาอบรมกับโมกุนก็สามารถซื้อวัตถุดิบได้  ส่วนใครที่อบรมแล้วต้องการเปิดร้านขายจริงจัง  ก็สามารถซื้อแฟรนไซส์โมกุน  ซูชิไปประกอบธุรกิจได้ทันที

             โดยราคาชุดแฟรนไซส์พร้อมขาย  รวยเร็ว  1  ค่าแฟรนไซส์  1,500  บาท  จะได้รับป้ายโมกุนชูชิ  ครบชุด  ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ภายในร้าน  สามารถเลือกซื้อสินค้าเองได้  เหมาะสำหรับคนที่มีร้านอยู่แล้ว  แต่ต้องการติดแบรนด์โมกุน

              และรูปแบบชุดรวยเร็ว  2  ค่าแฟรนไซส์  9,000  บาท  จะได้รับป้ายโมกุนครบชุด  โครงคีออสก์ถอดประกอบได้  ถาดใส่ซูชิอะคริลิกสีดำขอบแดง  8  ใบ  ที่คีบซูชิ  6  อัน  กล่องใส่ซูชิใบใหญ่  100  ใบ  กล่องใส่ซูชิใบเล็ก  100  ใบ  ตะกร้าใส่ตะเกียบ  วาซาบิ  และซอส   ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้  สามารถเปิดร้านขายได้ทันที


               ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โมกุน  ซูชิ
               โทรศัพท์  081-808-0124,  086-034-1012,  02-171-6895

               www.mokunsushi.net


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น