ทันตแพทย์


ให้การรักษาโรคและความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยาและวิธีการอื่นๆ ตรวจช่องปากและฟันของผู้ป่วย ใช้เครื่องเอ็กซเรย์และทดสอบความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ พิจารณาผลของการตรวจและเลือกวิธีการรักษา

ทันตแพทย์วิชาชีพ มีคุณสมบัติดังนี้

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิชาชีพทันตแพทย์ที่ได้รับการยอมรับและมีใบอนุญาตที่มีผลในปัจจุบัน

2. มีประสบการณ์ภาคปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปี ต่อเนื่อง และปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในระดับน่าพอใจ

3. ได้รับการรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพแพทย์ว่าไม่มีประวัติการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง ด้านเทคนิคมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพแพทย์

ทันตแพทย์จะใช้เวลาศึกษา 6 ปี  
การศึกษาสาขาเฉพาะทางทั้งหมด มีอะไรบ้าง

1. สาขาปริทันตวิทยา ถ้าเรียนเฉพาะทางสาขานี้จะได้ลงลึกเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน ซึ่งเกิดมาจากแบคทีเรียและดูแลรักษาฟันไม่สะอาด จนเกิดคราบหินปูน เหงือกบวมแดง เหงือกร่น ฯล จะรักษาด้วย การขูดหินปูน การเกลารากฟัน เป็นต้น

2. สาขาทันตกรรมหัตถกา กลุ่มวิชาทันตกรรมหัตถการ จะเรียนเกี่ยวกับการบูรณะฟันให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาพเดิม เช่น ถ้าฟันกรามผุ แทนที่จะถอนฟันก็ให้มาอุดฟันแทน ทำให้ใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งในระดับปริญญาตรี  จะได้เรียนการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชนิดต่างๆ

3. สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นสาขาเฉพาะทางสาขาเดียวที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การถอนฟันธรรมดา ถอนฟันคุด การผ่าตัดกระดูกในช่องปาก ผ่าตัดขากรรไกร ในระดับปริญญาตรีจะศึกษาแค่แค่การถอนฟันและถอนฟันคุด
เท่านั้น หากไมได้ศึกษาต่อทางด้านนี้จะไม่สามารถรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ เพราะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ถ้าไม่ชำนาญพอจะยิ่งเป็นอันตรายได้ 

4. สาขาทันตสาธารณสุข เป็นสาขาที่ไม่เน้นงานในคลินิค แต่เป็นการลงภาคสนาม เข้าหาชุมชน เน้นการบริหาร จัดการ วางแผน และการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

5. สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นการศึกษาการบูรณะฟัน อวัยวะในช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร ด้วยวัสดุประเภทต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้น ให้คงไว้ซึ่งการทำงาน ความสะดวกสบาย และความสวยงามของช่องปาก โดยการบูรณะฟันธรรมชาติ ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป

6. สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก เป็นการรักษาช่องปากของเด็ก แม้ว่าขั้นตอนการรักษาช่องปากในวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่จะไม่ต่างกันมาก แต่สิ่งที่ต่างกันคือ วิธีการจัดการรักษา เพราะการรักษาฟันในเด็กจะต้องอาศัยจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะได้เรียนกันอย่างละเอียดถ้าได้เรียนต่อเฉพาะทาง

7. สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งอาจเกิดจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือฟันแตก หัก ทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบ มีอาการปวดฟัน

8. สาขาทันตกรรมจัดฟัน เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการจัดเรียงฟัน การเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความสวยงาม และการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการดูแลและทำความสะอาด

9. สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เป็นการศึกษาต่อเนื่องสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวุฒิบัตร                         



แนวทางการประกอบอาชีพ

        สามารถประกอบอาชีพได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอน และวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในคลินิกส่วนตัว หรือโรงพยาบาลเอกชนหรือเป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหมกระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย เป็นต้น

        ผู้ชำนาญพิเศษทางทันตกรรม ทันตแพทย์ฝ่ายป้องกัน และสาธารณสุข ช่างเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ทางวิชาทันตแพทย์ศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น