แพทย์

แพทย์ คือ อะไร, หน้าที่ของแพทย์


แพทย์ คือ ผู้ตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ สั่งยา ให้การรักษา มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ



หน้าที่ของแพทย์

- ตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ

- สั่งยา ให้การรักษา

- มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน 
ทั้งในด้านการส่งเสริม สนับสนุนป้อง รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย


คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ
1. เป็นผู้ที่สนและเสียสละต่อเพื่อนมนุษย์ มีมารยาทดี และปรับตัวเข้ากับทุกคนได้

2. มีความสนใจวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังต้องสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์

3. มีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ อดทน

4. ซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการหลอกลวงผู้อื่น

5. มีจิตใจเป็นนักวิทยาศาสตร์ คิดด้วยเหตุผล

6. ช่างสังเกตและละเอียดถี่ถ้วน แต่ต้องฉับไว เพราะช้าอาจหมายถึงชีวิตของผู้ป่วย

7. ต้องไม่รังเกียจต่อสิ่งปฏิกูล เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ นำมูก นำเหลือง อาเจียน เพราะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปตรวจ

แพทย์วิชาชีพ มีคุณสมบัติดังนี้

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาทางวิชาชีพแพทย์ที่ได้รับการยอมรับและมีใบอนุญาตที่มีผลในปัจจุบัน

2. มีประสบการณ์ภาคปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 5 ปี ต่อเนื่อง และปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในระดับน่าพอใจ

3. ได้รับการรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพแพทย์ไม่มีประวัติการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง ด้านเทคนิคมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพแพทย์

Image result for แพทย์ คือ

การศึกษาและการฝึกอบรม
ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียนตามโครงการต่าง ๆ อีกหลายโครงการ

การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี 

ปีแรก เรียกชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา 

ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า พรีคลินิก (Preclinic) 

ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) 

และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทิร์น (Extern)


สถาบันที่เปิดสอนแพทย

1. วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

2. วิทยาลัยแพทย์ศาสตรกรุงเทพมหานครและ์วชิรพยาบาล

3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5. มหาวิทยาลัยมหิดล

6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7. มหาวิทยาลัยนเรศวร

8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

10. มหาวิทยาลัยรังสิต

11. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สาขาของแพทย์เฉพาะทาง



โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
1. รับราการในโรงพยาบาลของรัฐหรือกระทรวงสาธารณสุข
2. ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน
3. เปิดคลีนิกส่วนตัวรักษาโรค หรือตั้งโรงพยาบาลเอกชนของตนเอง
4. ทำงานนอกเวลาในโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป หลังจากเลิกงานประจำแล้ว
5. ศึกษาเพิ่มเติมเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาต่างๆ หรือศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น