วิศวกร


ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไข ปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกล โรงงานต่างๆ

วิศวกรอาชีพ มีคุณสมบัติดังนี้

1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมที่ได้รับการยอมรับและรับรองและได้รับการประเมินภายในประเทศแล้วว่าสามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างอิสระ

2. มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติอย่างน้อย 7 ปี หลังจบการศึกษาและใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ในหน้าที่รับผิดชอบด้านวิศวกรรมที่เด่่นชัด

3. ปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในระดับน่าพอใจ


คุณสมบัติที่จำเป็นต่องานวิศวะเป็นอย่างยิ่ง
  • ความคิดสร้างสรรค์ ในแง่ของการทำงานเราอาจจะต้องเจอปัญหาหรืออุปสรรค ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เรามองหาวิธีการใหม่ในการทำงาน หรือหลุดพ้นจากปัญหาเหล่านั้นไปได้
  • ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์ตัวงาน และออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา
  • ความสามารถทางเครื่องจักรกล เราต้องมีความเข้าใจเครื่องกลเป็นอย่างดี เพราะหากเราไม่เข้าใจอุปกรณ์ที่จะช่วยเราทำงานแล้ว การทำงานของเราอาจจะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร
  • การทำงานเป็นทีม ความรู้ความสามารถส่วนบุคคลอาจไม่เพียงพอ เพราะการทำงานที่ดี และสำเร็จไปได้ด้วยดีนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ต้องรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเช่นกัน

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร
          ไม่เพียงแต่นายจ้างจะเกิดความมั่นใจในความรู้ความสามารถของเรา แต่การที่เรามีใบประกอบวิชาชีพ ยังเป็นการรับรองว่าเรามีความเหมาะสมกับงานวิศวะด้านนี้จริง ๆ
กฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้ วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า "ใบกว." เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขา โยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
  • ภาคีวิศวกร
  • สามัญวิศวกร
  • วุฒิวิศวกร
โดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และขนาดของงานด้วย แต่ถ้าหากสาขา แขนง ลักษณะ และขนาดของงาน ไม่เข้าข่ายที่กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ในปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพของนักศึกษา

          งานวิศวกรที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมีอยู่ด้วยกัน 8 สาขา ดังนี้
  1. งานวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  2. งานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
  3. งานวิศวกรรมเครื่องกล
  4. งานวิศวกรรมโยธา
  5. งานวิศวกรรมอุตสาหการ
  6. งานวิศวกรรมเคมี
  7. งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  8. งานวิศวกรรมเหมืองแร่

แหล่งข้อมูลอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น