นิเทศศาสตร์

นิเทศศาสตร์

นิเทศศาสตร์ (อังกฤษ: Communication Arts) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญกับการสื่อสาร จากองค์ประกอบของการสื่อสาร กล่าวคือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารอาจเป็นตัวบุคคล องค์กร หรือบริษัทก็ได้ ข่าวสารจะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งต้องการที่จะกระจายให้ประชาชนได้รับทราบ สื่อหรือช่องทาง เป็นการหาวิธีการกระจายข่าวสารต่างๆ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มาก และกว้างไกล ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง และผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมาย จะต้องสามารถรับข่าวสารนั้นได้ โดยผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีการทำให้ข่าวสารที่ส่งไป ถึงผู้รับสารได้มากที่สุด

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานความหมายของ "นิเทศศาสตร์" ไว้ว่า "เป็นวิชาสื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม ไม่จำเพาะทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารทางการละครก็เข้าไปอยู่ในนิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชนทางอื่นนอกจากทางหนังสือพิมพ์ เช่น ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ก็เข้าอยู่ในนิเทศศาสตร์"

คุณสมบัติที่สำคัญของนิเทศศาตร์
1.  มีบุคลิกลักษณะกล้าแสดงออก
2.  มีจินตนาการ ช่างสังเกตสิ่งรอบตัว
3.  มีมนุษสัมพันธ์ที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ต้องร่วมทำงานกับหลายฝ่าย
4.  มีความอดทน เพราะบางครั้งทำงานเวลาไม่แน่นอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482

คณะนิเทศศาสตร์ (Faculty of Communication Arts) ประกอบด้วย 5 ภาควิชา
1.  การประชาสัมพันธ์  (Public Relations)
2.  การสื่อสารมวลชน  (Mass Communication)
3.  วารสารสนเทศ (Journalism)
4.  วาทวิทยาและสื่อสารการแสดง (Speech Communication and Performing Arts)
5.  การภาพยนตร์และภาพนิ่ง (Motion Pictures and Still Photography)

หลักสูตรที่รับผิดชอบโดยคณะ ได้แก่
หลักสูตรปริญญาตรี
1. นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) Bachelor of Arts (Communication Arts) [B.A.(Communication Arts)] 7  สาขาวิชาได้แก่
    1.1. การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
    1.2.  การโฆษณา (Advertising)
    1.3. การกระจายเสียง (Broadcasting)
    1.4. วารสารสนเทศ (Journalism)
    1.5. วาทวิทยา (Speech Communication)
    1.6. สื่อสารการแสดง (Performing Arts)
    1.7. การภาพยนตร์และภาพนิ่ง(Motion Pictures and Still Photography)

2. นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) Bachelor of Arts (Communication Arts)[B.A.(Communication Arts)] 1 สาขาวิชา ได้แก่
   2.1. การจัดการการสื่อสาร (นานาชาติ) (Communication Management)


หลักสูตรปริญญาโท
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.) Master of Arts (Communication Arts) [M.A. (Communication Arts)] 9  สาขาวิชาได้แก่
1. นิเทศศาสตรพัฒนาการ (Development Communication)
2. การโฆษณา (Advertising)
3. การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
5. วารสารสนเทศ (Journalism)
6. วาทวิทยา (Speech Communication)
7. สื่อสารการแสดง (Performing Arts)
8. การภาพยนตร์(Film)
9. การจัดการการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (นานาชาติ) (Strategic Communication Management)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.) Master of Arts (Communication Arts) [M.A. (Communication Arts)]

หลักสูตรปริญญาเอก

นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นศ.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 1  สาขาวิชาได้แก่

1.  นิเทศศาสตร์ * (Communication Arts)

หมายเหตุ
-หลักสูตรปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรภาษาไทย 7 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา
– * สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (ระดับปริญญาเอก) อยู่ในความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ (5 ภาควิชา)

อาชีพที่รองรับ
1. นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้ฝึกสอนการแสดง ผู้อำนวยการแสดง หรือผู้เขียนบท
2. ออกแบบโลโก้ สโลแกน เครื่องแบบ และบรรยากาศภายในสำนักงาน ได้แก่ นักกลยุทธ์ด้านการสื่อสารตรา นักออกแบบเอกลักษณ์ตรา ฝ่ายสื่อสารองค์กร และฝ่ายสื่อสารการตลาด
3. นักสร้างสรรค์งานโฆษณา ผู้เขียนบทโฆษณา ผู้กำกับศิลป์ ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา รวมไปถึงนักออกแบบโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์
4. นักสื่อสารองค์กร นักปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายเผยแพร่ นักวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้ประสานงานกิจกรรมพิเศษ
5. ผู้สื่อข่าว นักเขียน คอลัมนิสต์ บรรณาธิการ ผู้ประกาศข่าว 
6. ผู้ผลิตรายการวิทยุ และโทรทัศน์ ผู้กำกับรายการ ผู้เขียนบท ผู้ประกาศข่าว พิธีกร หรือผู้ควบคุมรายการวิทยุ และโทรทัศน์ตามองค์กรต่างๆ



http://www.chula.ac.th/admission/course/faculty-of-communication-arts

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น