สถาปนิก (อังกฤษ: Architect) คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"
1. ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง
2. ควบคุมการก่อสร้างร่วมกับวิศวกร
3. คำนวณวัสดุ เวลา และราคาของค่าแบบก่อสร้าง
4. ควบคุมการก่อสร้างที่เหมาะสม
5. ให้คำแนะนำในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
ในบางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และ ที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)
สถาปนิกอาชีพ มีคุณสมบัติดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับและมีใบอนุญาตที่มีผลในปัจจุบันเพื่อประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศแหล่งกำเนิด
2. มีประสบการณ์ภาคปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทั้งนี้ต้องทำงานต่อเนื่อง โดยตลอด 5 ปี ในขณะที่ถือใบอนุญาต
3. ปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในระดับน่าพอใจ
สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
สถาบันแห่งแรก
Website: http://www.arch.chula.ac.th/web2017/
Website: http://www.arch.su.ac.th/
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น