แหล่งฝึกอบรมอาชีพ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง


สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง.

88 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง 52100.

โทรศัพท์: 0-5435-6681-4. โทรสาร: 0-5435-6680

www.dsd.go.th/lampang

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง เดิมใช้ชื่อสถาบันพัฒนา ฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนบนจังหวัดลำปาง จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2519 สังกัดกรม แรงงาน กระทรวงมหาดไทย โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากสำนักงาน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ รัฐบาลไทยเปิดดำเนินการปี พ.ศ  2520  

วันที่  15  มีนาคม  พ.ศ. 2535   จัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงาน สังกัด กระทรวงมหาดไทย   และโอนสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานฯ มาสังกัด กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

วันที่  23  กันยายน พ.ศ. 2536  ได้จัดตั้งกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม    

วันที่ 3 ตุลาคม  2545  สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน  ตาม โครงสร้างกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ในการปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐบาล  และ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนบนจังหวัดลำปาง  เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบัน พัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง - อ่านต่อได้ที่ ThaiFranchiseCenter http://www.thaifranchisecenter.com/links/show.php?id=2942


ภารกิจ


1. ภารกิจด้านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
  • ฝึกอบรมให้แก่แรงงานใหม่เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักศนคติที่ ดีต่อาชีพในขั้นพื้นฐานของสาขาอาชีพต่างๆ ให้มีความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะแรงงานฝีมือ

  • ฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่มีงานทำอยู่แล้วให้มีความรู้ความสามารถและ ทักษะเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ หรือสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อหนุนกับงานที่ทำอยู่ให้สามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

  • ฝึกอบรมให้กับผู้ว่างงานหรือแรงงานที่มีงานทำแล้วแต่มีความประสงค์จะเปลี่ยนอาชีพใหม่หรือประกอบอาชีพอื่นเพิ่มเติม

  • ให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาหลักสูตรแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  • ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงาน สตรี เยาวชน คนพิการ และกลุ่มเป้าหมายพิเศษตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล


2. ภารกิจด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
  • การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  เป็นการทดสอบความรู้  ทักษะ และความสามารถที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละระดับ  การประเมินความรู้ ทักษะและความสามารถจะใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคความรู้และภาคความสามารถ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผ่านการทดสอบหางานทำได้ง่ายขึ้น  มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับ ฝีมือ
  • จัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  ซึ่งเป็นการทดสอบฝีมือแรงงานตามสาขาอาชีพที่กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรง งานแห่งชาติ  โดยแบ่งเกณฑ์การทดสอบออกเป็น 3 ระดับ คือ
    • การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 1 (ชั้นต้น)
    • การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 2 (ชั้นกลาง)
    • การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 3 (ชั้นสูง)

  • โดยใช้เกณฑ์การวัดผลการปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี ผู้ผ่านการทดสอบแต่ละระดับจะได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงาน

  • การทดสอบมาตรฐานฝีมือรงงานตามมาตรฐานกลาง  เป็นการทดสอบฝีมือคนทำงานที่มีความประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศให้ได้รับการ ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานก่อนที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศหรือผู้ที่ต้อง การใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานไปประกอบการสมัครงานกับนายจ้างในต่างประเทศ  ผู้ผ่านการทดสอบฝีมือแรงงานตามมาตรฐานกลาง  จะได้รับหลักฐานเป็น หนังสือรับรองผลการทดสอบ

  • การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรฐานนายจ้าง  เป็นการจัดระดับฝีมือของลูกจ้างหรือประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่ง  หน้าที่ หรือเงินเดือนตามความเหมาะสมจะต้องใช้วิธีการทดสอบตามลักษณะงานที่นายจ้าง กำหนด  ซึ่งนายจ้างจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทดสอบเอง  อาจจะใช้สถานที่ทดสอบของนายจ้างหรือของรัฐก็ได้  โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือในการกำหนดเกณฑ์วัดผลการทดสอบ




3. การแข่งขันฝีมือแรงงาน
   สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคมีภารกิจในการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงาน ระดับภาค  เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับประเทศต่อไป


4. ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและครอบคลุ่มกำลังแรงงานทุกระดับ โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการที่พัฒนาฝีมือแรงงานได้รับการยกเว้นภาษ๊เงิน ได้ร้อยละร้อยของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545


โทรศัพท์ 054 356 681-2 ต่อ 115 โทรสาร. 054 356 680
ฝ่าย/งานโทรศัพท์ภายใน
งานบริหารทั่วไป
หัวหน้างาน114
งานธุรการ111
งานพัสดุ อาคารสถานที่และยานพาหนะ112, 113
งานการเงินและบัญชี601
กลุ่มงานส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ฝ่ายวิชาการและเครือข่าย115
ฝ่ายแผนและประเมินผล125
ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน123
ฝ่ายส่งเสริมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน124
กลุ่มงานพัฒนาฝีมือและศักยภาพแรงงาน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานการพัฒนาฝีมือแรงงาน501
ฝ่ายฝึกช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์411
ฝ่ายฝึกช่างเครื่องกล811
ฝ่ายฝึกช่างอุตสาหการ321
ฝ่ายฝึกช่างก่อสร้าง และอุตสาหกรรมศิลป์191
ฝ่ายฝึกอบรมเทคโนโลยีชั้นสูง311




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น